การฝึกอรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ความเป็นมาของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น

การเปิดอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น เริ่มการดำเนินการในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งเป็นปีแรกที่เปิดการฝึกอบรมสาขานี้ภายใต้สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยโดย นายแพทย์นคร ทิพย์สุนทรศักดิ์ ,นายแพทย์สมชาย เรืองวรรณศักดิ์, แพทย์หญิงอภิวรรณ ศิริคะเณรัตน์ และแพทย์หญิงธมล ลิ้มธนาคม โดยอาจารย์แพทย์จะทำงานดูเเลผู้ป่วยเวรเช้าในเวลาราชการเป็นหลักและขึ้นปฏิบัติงานนอกเวลาราชการด้วย ส่วนอาจารย์แพทย์เฉพาะทางแผนกอื่นที่หมุนเวียนมาช่วยงานห้องฉุกเฉิน จะมาช่วยปฏิบัติงานในเวรบ่ายและเวรดึก ดังนั้นจึงมีอาจารย์แพทย์ประจำห้องฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สอดคล้องรองรับระบบการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

ล่าสุด เมื่อปี 2565 โรงพยาบาลขอนแก่นได้มีอาจารย์แพทยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 13 ท่าน และสามารถรองรับศักยภาพการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จำนวน 8 ตำแหน่ง ต่อ ชั้นปี

พันธกิจของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลศูนย์ระดับตติยภูมิของรัฐ สังกัดสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด ขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลขนาด 1,000 เตียง มีแพทย์เฉพาะทางสาขาหลักครบทุกสาขา ดูแลรักษาผู้ป่วยทุกสาขามีศูนย์ความเชี่ยวชาญระดับสูง 5 สาขา ได้แก่ สาขาอุบัติเหตุ สาขาทารกแรกเกิด สาขาโรคมะเร็ง สาขาโรคหัวใจ และ สาขารับบริจาคปลูกถ่ายอวัยวะ นอกจากนี้ยังมีองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของรัฐบาลญี่ปุ่น (JICA) ให้การสนับสนุนรถพยาบาลฉุกเฉินพร้อมอุปกรณ์ การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ และสนับสนุนการจัดทำระบบฐานข้อมูล trauma registry เป็นแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข

1. ผลิตแพทย์ฉุกเฉินที่มีความรู้ทักษะ คุณธรรมและจริยธรรม โดยยึดถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็น กิจที่หนึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินของ แพทยสภา ทั้งในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ สามารถให้บริการทางวิชาการ การศึกษาและฝึกอบรม รวมถึงสร้าง งานวิจัยและนวัตกรรมด้านเวชกรรมฉุกเฉิน โดยจัดให้ผู้รับการฝึกอบรมมีประสบการณ์การเรียนรู้ผ่านกระบวนการ เรียนรู้เชิงรุก (Active learning) โดยมีผู้รับการฝึกอบรมเป็นศูนย์กลาง ในสถานพยาบาลหรือแหล่งให้การศึกษา และฝึกอบรมทางการแพทย์ เพื่อตอบสนองความขาดแคลน ความจําเป็นในการบริบาลเวชกรรมฉุกเฉินของรัฐ อัน จะเป็นประโยชนน์ต่อการแก้ปัญหาด้านเวชกรรมฉุกเฉินของประชาชนและสังคมไทย

2. เพิ่มการผลิตแพทย์ฉุกเฉินเข้าสู่ระบบบริบาลสุขภาพของรัฐ ให้เป็นอาจารย์แพทย์ในศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกหรือแหล่งฝึกอบรมแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นหลัก ที่มีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจในระบบบริบาล สุขภาพ ระบบบริหารจัดการภาครัฐ สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานในระบบบริบาลสุขภาพอย่างมีความสุข และยั่งยืน

การเรียนการสอนระหว่างการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

ในปีที่ 1 จะต้องผ่านวิชาหลัก ได้แก่ ผู้ป่วยวิกฤตอายุรศาสตร์ (ICU med) ผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์ (ICU surg) cardiac care unit (CCU) วิกฤตกุมารเวชศาสตร์ (PICU and NICU) โดยระยะเวลาการเรียนแต่ละวิชา ขึ้นตามหลักสูตรของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

ส่วนในปีที่ 2 และ 3 ต้องผ่านวิชาบังคับ และวิชาเลือก ซึ่งประกอบด้วย emergency medical system, trauma, หู คอ จมูก, จักษุวิทยา, รังสีวิทยา, จิตเวชศาสตร์ เป็นต้น โดยจะมีช่วงเวลาที่แพทย์ได้ขอเลือกฝึกปฏิบัติงานต่างสถาบันได้ โดยให้แพทย์มีอิสระในการเลือกสถาบันที่ต้องการฝึกงานได้ตามต้องการ เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ในการทำงานให้กว้างไกลมากขึ้น

ได้จัดให้มีการเรียนการสอน 2 วันในหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเป็น regular conference โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิชาการ ประกอบด้วย อาจารย์แพทย์ แพทย์ประจำบ้านทั้ง 3 ชั้นปี แพทย์เพิ่มพูนทักษะ (intern) และนักศึกษาแพทย์เวชปฏิบัติชั้นปีที่ 6 (extern) จากสถาบันต่างๆ อีกทั้งยังมีแพทย์ประจำบ้านที่มาฝึกงานงานจากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วย

วันอังคาร เช้า

มีการทำ dead case coference (english version) โดยมีการนำเสนอและ discussion เป็นภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังมี morbidy and mortality conference, emergency topic, staff lecture และ journal club อีกด้วย

วันพฤหัสเช้า

ten minutes talk, topic EMS, interesting case, emergency procedure และจัดให้มี simulation โดยฝึกปฏิบัติการกับหุ่น โดยจำลองสถานการณ์ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านได้ฝึกแก้ปัญหาและเป็นการทบทวนก่อนเตรียมตัวสอบวุฒิบัตรเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และฝึกให้มีความชำนาญในการดูแลรักษาผู้ป่วยจริง

DOWNLOAD คู่มือต่างๆ

เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ฉบับปึ พ.ศ. 2565
เวชหัตถการฉุกเฉิน หลักสูตรปีการฝึกอบรม 2565
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ฉบับปึ พ.ศ. 2565
คู่มือแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ฉบับปึ พ.ศ. 2565

เกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย ฉบับปึ พ.ศ. 2561
เวชหัตถการฉุกเฉิน หลักสูตรปีการฝึกอบรม 2561
หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ฉบับปึ พ.ศ. 2561
คู่มือแพทย์ประจำบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น ฉบับปึ พ.ศ. 2560

เกณฑ์หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ปีพ.ศ. 2559

รายชื่อแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 1 (รุ่นที่ 20)

พญ.อโรชา เตชะโกศล
(อโร)

นพ.ธีรพล ยิ่งประทานพร
(คิม)

พญ.นุตประวีณ์ เถาเอี่ยม
(อ๋อมแอ๋ม)

พญ.มัญชุพัฒน์ บุตรประพันธ์
(ใบเตย)

นพ.ภัทรเดช วิภูษณะ
(พี)

 

นพ.ชิตณรงค์ วงค์อามาตย์
(ชิด)

 

พญ.กษมา จรรยาสุทธิวงศ์
(สุ่ย)

รายชื่อแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 2 (รุ่นที่ 19)

พญ.ฉัตรศุภร ทัพธานี
(แป้ง)

พญ.ฉัตรฑริกา แสนโฆเมฆ
(ฉัตร)

พญ.พัทธ์ธีรา พินธุรักษ์
(แป้ง)

นพ.วิศิษฏ์ สินจัตุรัส
(บอส)

พญ.มนัสสา บุญมาศ
(แพร)

พญ.พัชรนันท์ เพิ่มธรรมสิน
(พัช)

พญ.ปภาวรินทร์ อุดมพันธ์
(หยก)

พญ.เสาวภา เครืองรัมย์
(เฟิร์น)

รายชื่อแพทย์ประจำบ้าน ชั้นปีที่ 3 (รุ่นที่ 18)

นพ.ณฐกิจ ศรชัย
(เหน่ง)

นพ.ปาณัท เลิศมหาฤทธิ์
(ปาณัท)

พญ.ภัสรา สังฆมณี
(ปุ้ม)

นพ.รัฐกร ยิ่งจำเริญศาสตร์
(กร)

พญ.มริษฎา สุดสังข์
(อีฟ)

พญ.พชรพร มงคลแสงสุรีย์
(แนน)

 

นพ.ปุณยวัจน์ บุญเรือง
(เนี๊ยบ)

พญ.ศิรประภา สิทธิสาร
(หมิว)