ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน

บทบาทหน้าที่ของศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด

  1. งานป้องกันการบาดเจ็บ   งานป้องกันการบาดเจ็บ
  • การส่งเสริมและการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ในโรงพยาบาลขอนแก่น 
  • เชื่อมประสานการส่งเสริมและการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ในเครือข่ายทุกระดับ จังหวัดขอนแก่น 
  • เชื่อมประสานการส่งเสริมและการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในระดับประเทศ(สอจร.)และต่างประเทศ 

      ศูนย์คุ้มครองเด็กและสตรีโรงพยาบาลขอนแก่น (OSCC: One Stop Crisis Center)

  • เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี ดูแลให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
  • สร้างเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนในการร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาการกระทำรุนแรงต่อเด็กและสตรี
  • ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักในสิทธิเด็กและสตรี

      การรักษาฟื้นฟูผู้พิการหรือผู้ป่วยจากการบาดเจ็บด้านอุบัติเหตุเบื้องต้นทางกายภาพบำบัด 

  • ป้องกันและรักษาการจำกัดการเคลื่อนไหว เช่นการเคลื่อนย้าย การรักษาสมดุลร่างกายและการเดิน 
  • ป้องกันการกลัวจากการล้ม และรักษาสภาพหรือเพิ่มประสิทธิภาพในด้านสมรรถภาพทางกาย
  • ป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่นแผลกดทับ ข้อติด    
  1. งานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน (EMS)
  • จัดระบบการบริการการแพทย์ก่อนถึงโรงพยาบาล
  • จัดแบ่งพื้นที่การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน พัฒนาคุณภาพงานและพัฒนาบุคลากร ให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด
  • พัฒนาระบบสื่อสารให้มีประสิทธิภาพ และจัดให้มีผู้ให้บริการอย่างเพียงพอ เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น สามารถเรียกใช้บริการจากศูนย์สื่อสารและสั่งการประจำจังหวัดขอนแก่น ได้ตลอด  24  ชั่วโมง 
  • ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดขอนแก่น รู้จักเรียกใช้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
  • ประเมินผลหน่วยกู้ชีพทุกแห่ง  ให้ได้มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์  รวมทั้งประเมินคุณภาพรถพยาบาล และประเมินศักยภาพบุคลากร 
  • งานความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย (7E) อันได้แก่ การสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรค,การรักษาพยาบาล,การดูแลฟื้นฟูผู้พิการ,ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน(EMS),การ        ส่งต่อ (Refer), การตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข: PHER (Public Health Emergency Respond) การป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (Disaster)
  1. งานพัฒนาระบบข้อมูลการบาดเจ็บ (IS)
  • จัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาระบบบริการผู้บาดเจ็บและระบบส่งต่อ
  • พัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการปรับปรุงระบบรักษาพยาบาลและระบบส่งต่อผู้บาดเจ็บของโรงพยาบาล
  • พัฒนาระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บให้เหมาะสมกับการแก้ไขและป้องกันอุบัติเหตุและการบาดเจ็บในระดับจังหวัดและระดับชาติ
  1. งานพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผู้บาดเจ็บ ในโรงพยาบาลขอนแก่น (In Hospital Care)
  • เพื่อพัฒนาระบบ Acute Trauma Care การดูแลด้วย Trauma Alert Team และ Trauma Fast Track
  • เพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้บาดเจ็บครบวงจร รวมทั้งพัฒนาระบบ In Hospital Trauma Registry, Trauma Audit และ TQI program
  • เพื่อให้ภาคีเครือข่ายได้ทราบและบูรณาการ ตั้งแต่เครือข่ายก่อนการนำส่ง ให้เกิดการพัฒนาระบบการ ส่งต่อ เพื่อรองรับความเร่งด่วนในการรักษา
  1. ศูนย์จัดการความรู้ด้านการบาดเจ็บและป่วยฉุกเฉินครบวงจรและการพัฒนาการวิจัย (KM)
  • การบริหารทรัพยากรและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
  • บทบาทด้านการฝึกอบรม (Training Center) การเป็นศูนย์ฝึกอบรมในแขนงงานที่มีความเชี่ยวชาญครบวงจร
  • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • การพัฒนางานวิจัย (Research) ทั้งงานวิจัยของโรงพยาบาลและการทำวิจัยร่วม (Multi center study) และทำฐานข้อมูลงานวิจัย
  1. ศูนย์ความร่วมมือระหว่างองค์การอนามัยโลก(WHO) และโรงพยาบาลขอนแก่น
  • การเผยแพร่รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุจราจรและการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุจราจรของจังหวัดขอนแก่นไปยังจังหวัดอื่นๆ รวมถึงในระดับต่างประเทศ
  • ให้ความร่วมมือทางเทคนิค เป็นที่ปรึกษาให้กับสถาบันต่างๆ ทั้งองค์กรในประเทศและต่างประเทศ ในการพัฒนาระบบการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุด้านต่างๆ
  • บทบาทด้านการประสานงาน (Coordination)  เป็นศูนย์ประสานงานทั้งในงานด้านการพัฒนาระบบและกิจกรรมเฉพาะ