การช่วยเหลือผู้หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้นในโรงพยาบาลขอนแก่น ด้วยทีม CODEBLUE

หากผู้มารับบริการที่ไม่ใช่ผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาลขอนแก่น มีอาการหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น การช่วยเหลือที่จุดเกิดเหตุเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง  เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉิน ที่ต้องเน้นความรวดเร็วในการช่วยเหลือ ความถูกต้องในการประเมินหัวใจหยุดเต้นและเริ่ม CPR ได้อย่างถูกต้อง  ด้วยทีมการแพทย์ฉุกเฉินที่มีศักยภาพ ออกปฏิบัติการด้วยความรวดเร็ว แม่นยำ

ที่มาและแนวคิดของ CODEBLUE

หากเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นในผู้ป่วยใน การดูแลการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการกดหน้าอกปั้มหัวใจจะทำโดยแพทย์และพยาบาลเจ้าของใข้ และมีการช่วยเหลือระหว่างหอผู้ป่วยหากเกินศักยภาพ แต่หากผู้ที่หมดสติหรือหัวใจหยุดเต้นนั้นไม่ใช่ผู้ป่วยใน อาจเป็นญาติหรือผู้ที่มารับบริการที่ในโรงพยาบาลขอนแก่น เนื่องจากการประเมินอาการและการช่วยเหลือที่ถูกต้อง ณ จุดเกิดเหตุอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง  เนื่องจากอาการเหล่านี้เป็นภาวะวิกฤตฉุกเฉินหากสมองขาดเลือดนาน โอกาสฟื้นคืนชีพและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ยิ่งลดน้อยลงไป แม้บุคลากรของโรงพยาบาลจะได้รับการอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพระดับพื้นฐานทุกคนและบุคลากรบางส่วน เช่น แพทย์หรือพยาบาล มีความรู้ในให้การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงแก่ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น  แต่ผู้ที่หัวใจหยุดเต้นนั้นยังไม่มีเจ้าของไข้หรือไม่มีผู้รับผิดชอบ เพียงได้รับการแจ้งจากผู้ประสบเหตุเท่านั้น ซึ่งผู้ประสบเหตุนั้น (bystander) นั้น

1. ผู้ประสบเหตุอาจไม่ทราบว่ามีทีมช่วยเหลือในการช่วยฟื้นคืนชีพ ไม่ทราบเบอร์ขอความช่วยเหลือ ไม่ทราบวิธีการประเมินหัวใจหยุดเต้น

2. ผู้ประสบเหตุไม่สามารถเริ่ม CPR ได้ ไม่ทราบวิธีการ CPR ว่าทำอย่าง ไม่ทราบว่ามีเครื่องกระตุกหัวใจอัตโนมัติ (AED) อยู่ที่ใหน

3. ผู้ประสบเหตุนั้นสามารถทำ CPR ทำได้อย่างถูกต้องหรือมีคุณภาพหรือไม่

หมายเหตุ ก่อนหน้านี้มีโครงการ “เพื่อนบ้านมีปัญหา อีอาร์ช่วยได้” แต่งยังมีปัญหาเรื่องช่องทางการแจ้งเหตุ พื้นที่ปฏิบัติการ บุคลาการในทีมปฏิบัติงานและ workflow จนนำไปสู่การพัฒนา CODEBLUE ด้วยหลักการของ Business continuing Management (BCM)

วัตถุประสงค์ 

1. ผู้ประสบเหตุพบผู้ที่หมดสติ หัวใจหยุดเต้น ทราบว่ามีทีมช่วยเหลือในการช่วยฟื้นคืนชีพ ทราบเบอร์ขอความช่วยเหลือเนื่องจากเป็นเบอร์ 1669 ที่ใช้สำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉินอยู่แล้ว

2. เพื่อผู้ประสบเหตุนั้นสามารถทำ CPR ทำได้อย่างถูกต้อง โดยศูนย์แจ้งเหตุและสั่งการ 1669 จะให้คำแนะนำขั้นตอน วิธีการ ทางโทรศัพท์แก่ผู้ประสบเหตุระหว่างการช่วยฟื้นคืนชีพ (pre-arrival instruction) ทำให้มีคุณภาพการช่วยฟื้นคืนชีพสูงขึ้นระหว่างรอทีม CODEBLUE มาถึง ซึ่งส่งผลต่อการรอดชีวิติของผู้หมดสติ

3. มีหน่วยที่รับผิดชอบตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (emergency response team) จากหัวใจหยุดเต้น ที่มีความเชี่ยวชาญเนื่องจากปฏิบัติการเป็นประจำ สำหรับญาติผู้ป่วยหรือผู้ที่มารับบริการที่ในโรงพยาบาลขอนแก่น

4. ที่มาของชื่อ “CODEBLUE” เป็นหนึ่งในรหัสฉุกเฉินของโรงพยาบาลประเทศ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลียและแคนาดา ที่ใช้อธิบายสถานะวิกฤตของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้น ที่ต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งรหัสนี้มักประกาศผ่านระบบเสียงประกาศสาธารณะของโรงพยาบาลเพื่อแจ้งเตือนเจ้าหน้าที่ การใช้รหัสมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างรวดเร็วและมีความเข้าใจผิดน้อยที่สุดกับเจ้ามหน้าที่ในขณะเดียวกันก็ป้องกันความเครียดและความตื่นตระหนกของผู้มาโรงพยาบาล และอีกประเด็นในการตั้งชื่อ CODEBLUE เนื่องจากเป็นชื่อที่ผู้คนทั่วไปหรือเจ้าหน้าที่ในโรงพยาบาลจดจำง่าย เนื่องมาจากอิทธิพลของซีรีย์หน่วยแพทย์กู้ชีพจากประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย

WORKFLOW ของทีม CODEBLUE

 

 

หากพบผู้ป่วยหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น ทั้งในและนอกโรงพยาบาลขอนแก่น เพียงโทร 1669 เบอร์เดียว