ปรัชญาการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล

เวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล (Pre-hospital Emergency Medicine; PhEM) เป็นอนุสาขาของสาขาวิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (emergency medicine) ที่มุ่งพัฒนาแพทย์ฉุกเฉินให้เป็นผู้มีความรู้ความชำนาญในการบริบาลเวชกรรมแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนการรับไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อการบำบัดรักษาด้วยวิธีการจำเพาะเจาะจงที่ได้มาตรฐานทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินหายหรือพ้นจากภาวะผิดปกติภาวะใดภาวะหนึ่งหรือโรคใดโรคหนึ่งโดยเฉพาะตามหลักวิชาการของวิชาชีพเวชกรรม ที่เรียกอย่างสั้นว่า “การบำบัดเจาะจง” (definitive treatment) ซึ่งช่วงเวลาก่อนการรับผู้ป่วยฉุกเฉินไว้รักษาในโรงพยาบาลเพื่อการบำบัดเจาะจงดังกล่าว นับแต่การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วย ฉุกเฉิน การติดต่อศูนย์รับแจ้งและจ่ายงาน (dispatch centre) การจัดลำดับความเร่งด่วน และสั่งการหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ (emergency medical service; EMS) ที่เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพในบริบทของความเป็นจริงของการทำงาน(Realistic)และมีบุคลากรที่มีความสามารถทำหน้าที่ประเมินและรักษาผู้ป่วยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมการดูแลรักษาระหว่างเคลื่อนย้ายนำส่งผู้ป่วยไปสู่สถานพยาบาลที่เหมาะสมโดยพาหนะเฉพาะที่สามารถดูแลผู้ป่วยระหว่างนำส่งได้ทั้งทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ ภายใต้ระบบอำนวยการ(medical director)

อนุสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลยังมุ่งเน้นพัฒนาแพทย์ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบการแพทย์ฉุกเฉินหรือที่เรียกว่า “แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน” (EMS medical director) ให้มีความเชี่ยวชาญในการอำนวยการระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งการอำนวยการทั่วไป (off-line medical direction) ซึ่งคือการออกแนวทางปฏิบัติงานของบุคลากรการแพทย์ฉุกเฉินระดับต่างๆ (EMS protocol) และการควบคุมคุณภาพ ของการระบบการแพทย์ฉุกเฉิน และการอำนวยการตรง (online medical direction) คือการออกคำสั่งทางการ แพทย์ผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ วิทยุสื่อสาร หรือระบบเวชศาสตร์ทางไกล (telemedicine) เพื่อให้ บุคลากรทางการแพทย์ฉุกเฉินทุกระดับสามารถปฏิบัติงานดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วิสัยทัศน์

เป็นหลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอดเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน อนุสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล มีมาตรฐานในวิชาชีพ และพัฒนาอย่างต่อเนื่องสู่ระดับสากล

ค่านิยม

หลักสูตรฯ มุ่งมั่นไปยังอนาคตข้างหน้าเพื่อสร้างมาตรฐานการดูแลรักษานอกโรงพยาบาลในระดับสากล ทั้งนี้จะมีการสร้างเครือข่ายกับสถาบันฝึกอบรมต่างๆในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งสำรวจความต้องการของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักเพื่อสร้างมาตรฐานของหลักสูตรให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

พันธกิจ

  • ผลิตวุฒิบัณฑิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอนุสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ที่มีมาตรฐานและคุณภาพตามวิชาชีพ และมีความเชี่ยวชาญใน ด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ประพฤติตนตามมาตรฐานของสังคม เป็นผู้นำของระบบการแพทย์ฉุกเฉินของประเทศไทยได้

  • พัฒนาคุณภาพในทุกส่วนของหลักสูตรโดยบูรณาการอย่างรอบด้าน ได้แก่ การพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร เนื้อหา หลักสูตร การบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน การทำวิจัยในหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่คาดหวัง

การเรียนการสอนระหว่างการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน

1. ฝึกปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินเป็นเวลา 10 เดือน โดยผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมจะผ่านการปฏิบัติงานที่ต่างๆ คือ

  • รพ.ขอนแก่น เป็นเวลา 6 เดือน

  • รพ.มหาราชนครราชสีมา เป็นเวลา 4 เดือน

โดยหลักสูตรกำหนดเวลาปฏิบัติงาน 8 ชั่วโมง นับเป็น 1 เวรการทำงาน วันจันทร์ - ศุกร์ แบ่งเป็นการปฏิบัติงาน  ในห้องฉุกเฉิน จำนวน 1 เวรต่อสัปดาห์ และการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินจำนวน 4 เวรต่อสัปดาห์ รายละเอียดดังคู่มือปฏิบัติงานแพทย์ประจำบ้านต่อยอด ทั้งนี้แพทย์ประจำบ้านต่อยอด ต้องไม่มีเวลาทำงานในแต่ละวันติดต่อกันเกินกว่า 12 ชั่วโมง และในแต่ละวันต้องมีเวลาพักอย่างน้อยเท่ากับเวลาปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดให้มีวันพักเฉลี่ยอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์

2. ฝึกการอำนวยการ การจ่ายงาน และการควบคุมดูแลระบบปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นเวลา 4 เดือน ได้แก่

  • รพ.ขอนแก่น เป็นเวลา 2เดือน

  • รพ.มหาราชนครราชสีมา เป็นเวลา 2 เดือน

3. ฝึกทักษะการดูแลผู้บาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล การช่วยเหลือผู้ป่วยในกรณีอุบัติภัย การเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ทางบก ทางอากาศ และทางน้ำ

  • ฝึกปฏิบัติการในหน่วยอำนวยการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการ ปฏิบัติการทั่วไป และระหว่างที่ขึ้นปฏิบัติงานหรืออยู่เวรนอกเวลาที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล หากมี ผู้ป่วย criticalcare transportation เช่น ผู้ป่วยที่ใช้ invasive monitoring, noninvasive ventilation, invasive mechanical ventilation, extracorporeal membrane oxygenation, intra-aortic balloon pump หรือผู้ป่วย critical pediatric transportation ให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดได้มีส่วนร่วมกับทีมในการเตรียมผู้ป่วยและส่งต่อผู้ป่วย

  • ทำกิจกรรมทางวิชาการที่ได้รับมอบหมาย ได้แก่ ถ่ายทอดความรู้ criticalcare transportationให้กับทีมในการเตรียมและการดูแลผู้ป่วยขณะส่งต่อ

  • ปฏิบัติการและอำนวยการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยระหว่างรพ. (IMAC) รพ.ขอนแก่น  เป็นเวลา 1 เดือน

  • ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางน้ำ และงานระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล รพ.วชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เป็นเวลา 1 เดือน

  • ปฏิบัติการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่  (selective) เป็นเวลา 1 เดือน

  • ปฏิบัติการการแพทย์ในถิ่นทุรกันดาร กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่  (selective) เป็นเวลา 1 เดือน

  • ประสบการณ์จัดการภาวะฉุกเฉินทางภัยพิบัติ เดือนมีนาคมในการให้การฝึกอบรมซ้อมรับมืออุบัติภัยหมู่ เป็นเวลา 1 เดือน

  • ฝึกอบรมคอร์สระยะสั้นการดูแลผู้ป่วยอุบัติเหตุก่อนถึงโรงพยาบาล (PrehospitalTrauma Life  Support, PHTLS)

  • ฝึกอบรมคอร์สระยะสั้นgeriatric EMS, quality EMS, AMLS

  • วิชาเลือกอิสระ (Elective) และฝึกอบรมคอร์สระยะสั้น

การจัดประสบการณ์เรียนรู้จะมีการพิจารณาตามความรู้ความสามารถที่พึงประสงค์ของแพทย์ประจำ บ้านต่อยอดในแต่ละชั้นปี และให้แพทย์ประจำบ้านต่อยอดมีอิสระในการจัดประสบการณ์เรียนรู้ด้วยตัวเอง ภายใต้ข้อกำหนด โดยผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านต่อยอด และมีระบบการ กำกับดูแลเพื่อให้มั่นใจว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีแพทย์ประจำบ้านต่อยอดแต่ละคนมีประสบการณ์การเรียนรู้ ในด้านต่าง ๆ เหมาะสมและครบถ้วนตามข้อกำหนดของวิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

แพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีที่ 1 จะสามารถให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อนไม่มาก เป็นผู้นำในการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ ทำหัตถการฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุ ภายใต้การควบคุมของ อาจารย์หรือแพทย์ประจำบ้านต่อยอดชั้นปีที่สูงกว่า เป็นแพทย์อำนวยการในปฏิบัติการที่ไม่ซับซ้อน

แพทย์ประจำบ้านต่อยอดปีที่ 2 จะสามารถให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลที่มีความซับซ้อน หรือในสถานการณ์พิเศษ ทำหัตถการฉุกเฉิน ณ จุดเกิดเหตุได้อย่างคล่องแคล่วและเป็นผู้ควบคุมดูแลการ ทำหัตถการของผู้มีประสบการณ์น้อยกว่า ทำการอำนวยการตรงและแนะนำควบคุมผู้มีประสบการณ์น้อย กว่าได้