นวัตกรรมการรับแจ้งเหตุและการจัดการข้อมูลของศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานงานการแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์1669) ด้วย Google spread sheet

ความเป็นมาของนวัตกรรม Google spread sheet ในการทำงานของศูนย์ 1669

          โครงการจัดทำแบบบันทึกการรับแจ้งเหตุและการจัดการข้อมูลของศูนย์รับแจ้งเหตุและประสานงานการแพทย์ฉุกเฉิน (ศูนย์1669) ด้วย Google spread sheet เริ่มเมื่อ 2559 เมื่อมีการนำระบบอำนวยการทางการแพทย์มาใช้ และพัฒนาต่อมาจนเต็มรูปแบบและนำมาใช้งานในระยะต่อมา  เนื่องจากปัจจุบันผู้ป่วยฉุกเฉินที่เรียกใช้บริการผ่านทางหมายเลขโทรศัพท์ 1669 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณข้อมูลการรับแจ้งเหตุจึงมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการบันทึกข้อมูลจึงมีความจำเป็น ที่ผ่านมาการบันทึกข้อมูลรับแจ้งเหตุยังคงเป็นรูปแบบกระดาษ ทำให้เกิดกระบวนการทำงานที่ซ้ำซ้อน ไม่แม่นยำ

แผนผังของการปฏิบัติงานที่ศูนย์สื่อสารและสั่งการทางการแพทย์1669 โรงพยาบาลขอนแก่น

          มีโทรศัพท์เข้ามาแจ้งเหตุจำนวนมาก มีพนักงานรับแจ้งเหตุในการรับแจ้งหลายๆคนในห้วงเวลาเดียวกัน เกิดความสับสน ความอลหม่านในการออกเลขที่ออกเหตุ ข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง หรือตกหล่นการประสานงานกับผู้ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉินและผู้จ่ายงานการแพทย์ฉุกเฉิน ในการออกรหัสทำไม่ต่อเนื่องต้องมารายงานกันอีกครั้ง  ทำให้เสียเวลาในการจ่ายรถพยาบาลออกเหตุเพื่อให้ทันช่วงเวลาวิกฤต  การเห็นชุดข้อมูลเดียวกันผ่าน Google spread sheet สามารถทำให้ผู้ประสานและการจ่ายงานรวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น

  • มาตรฐานของเวลาแตกต่างกันเมื่อใช้กระดาษ เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Google spread sheet สามารถตั้งสูตรให้แสดงเวลาที่ผู้ประสบเหตุโทรศัพท์เข้ามา  การประสานงาน การจ่ายงานและการที่ผู้ปฏิบัติไปถึงที่เกิดเหตุ แม่นยำมากขึ้นเนื่องจากเป็นเวลาอินเตอร์เน็ต ตรงกัน สามารถนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนางานได้

  • ความสิ้นเปลืองกระดาษหมดไปหลังจากเปลี่ยนมาใช้  การเก็บข้อมูล  การค้นหาข้อมูล ทำได้ง่ายขึ้น

  • ไม่มีความผิดพลาดจากการสื่อสารด้วยการเขียน จากลายมือที่แตกต่าง อ่านยาก

  • สามารถนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อพัฒนางาน ด้วยความสามารถของ Google spread sheet   ที่นำข้อมูลออกมาเป็น EXCEL ได้ทันที

การปฏิบัติงานของแพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉินและผู้กำกับปฏิบัติการฉุกเฉิน

การปฏิบัติงานของพนักงานรับแจ้งเหตุและการใช้ Google spread sheet เพื่อการสื่อสารระหว่างทีมศูนย์รับแจ้งเหตุ 1669

วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม

  1. การสร้างระบบการรับแจ้งเหตุโดยการพัฒนาระบบ Google spread sheet  เพื่อให้สะดวกต่อการติดตามข้อมูลผู้ป่วย

  2. ผู้จ่ายงานสามารถส่งรถพยาบาลออกเร็วขึ้น ผู้ป่วยได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วจากชุดข้อมูลเดียวกัน

  3. พัฒนาระบบการสั่งการโดยการใช้ระบบ การแจ้งเตือนผ่านทาง LINE ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บพร้อมทั้งเบอร์โทรศัพท์ไปยังหน่วยปฏิบัติการ

  4. พัฒนาและต่อยอด ข้อมูลและแหล่งสืบค้นโดย สามารถสืบค้นเป็นหน่วยปฏิบัติการได้ ผ่านทาง Google สตูดิโอ ที่เป็นระบบ real time และสามารถกรองข้อมูลช่วงเวลาหรือแต่ละหน่วยปฏิบัติการได้

การบันทึกข้อมูลรับแจ้งเหตุ ด้วย Google spreadsheet

การนำเสนอข้อมูลรับแจ้งเหตุ ด้วย Google data studio

 

ขั้นตอนการสร้างและการทดสอบการทำงานของนวัตกรรม

  1. ประชุมผู้เกี่ยวข้องเพื่อระบุปัญหาและอุปสรรค รวมถึงโอกาสพัฒนาจากระบบการทำงานและเครื่องมือที่ใช้งานในอดีต

  2. ศึกษาเอกสารและวรรณกรรมเพื่อรวบรวมข้อมูลที่ตำเป็นสำหรับการพัฒนานวัตกรรม เช่นหลักเกณฑ์การจ่ายงานตามลำดับการบริบาล

  3. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการพัฒนาเครื่องมือ

  4. นำเครื่องมือมาทดลองใช้ในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะเพื่อทดสอบและนำผลการทดสอบครั้งที่ 1 มาปรับปรุงนวัตกรรมและทดสอบซ้ำจนใช้งานได้

  5. จัดการอบรมพัฒนาศักยภาพการทำงานด้วย Google spread sheet แก่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ปฏิบัติงานที่ศูนย์สื่อสารและสั่งการ  ได้แก่ พนักงานรับแจ้งเหตุ ผู้ประสานงานการแพทย์ฉุกเฉิน และผู้จ่ายงาน

  6. นำนวัตกรรมใช้ในจริงและเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์และนำข้อมูลที่ได้มาทบทวน ปรับปรุงระบบการรับแจ้งเหตุและสั่งการทางการแพทย์

นวัตกรรมนี้มีความโดดเด่น และแตกต่างเนื่องจาก เกิดขึ้นจากระบบการทำงานซึ่งมองหาจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกสบายให้แก่ผู้ปฏิบัติงาน  อีกทั้งยังสามารถตรวจสอบข้อมูลได้อย่างง่ายโดยการค้นหา และทุกคน ในหน่วยสื่อสารและสั่งการสามารถเห็นข้อมูล การรับแจ้งเหตุและสั่งการเป็นชุดข้อมูลเดียวกัน สามารถประสานงานได้ทันที  ลดความผิดพลาด  ซึ่งโดยที่ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นระบบการรับแจ้งเหตุ โดยใช้ระบบ Google spreadsheet เป็นการใช้งานด้วยกระดาษซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากร และยากต่อการสืบค้นข้อมูล ซอฟต์แวร์ประยุกต์ใช้โดยผ่าน Google เป็นแพทฟอร์มหลักวิธีการทำงานดังนี้เริ่มต้นจากพนักงานรับแจ้งเหตุการณ์นำข้อมูลลงใน Google ชีทแล้วข้อมูลที่นำเข้าไปจะไปปรากฏยัง หน้าจอ ของเจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่อยู่ประจำหน่วยสื่อสารและสังการการจากนั้นเจ้าหน้าที่ประสานงานจะใช้ข้อมูลเรื่องการสั่งการออกปฏิบัติการ และนอกจากนี้ข้อมูลที่รับแจ้งทั้งหมดจะส่ง ไปยัง LINE กลุ่มของทีมปฏิบัติการเพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมในการออกปฏิบัติการณ์พร้อมทั้งแนบแนวทางปฏิบัติออฟไลน์เมดิคอลโปรโตคอล (Off-line medical protocol)  ไปด้วย

 

ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำ Google spread sheet มาใช้งาน

  1. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยรับแจ้งเหตุและสั่งการสามารถเข้าถึงข้อมูลและติดตามข้อมูลผู้ป่วยผู้บาดเจ็บ ลดการใช้กระดาษและการสูญหายของข้อมูล

  2. เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยปฏิบัติการได้รับข้อมูลเพิ่มเติมที่เป็น ซึ่งจะเป็นข้อความที่ชัดเจน มากขึ้นรวมทั้งสามารถ ทำตามแนวทางข้อโปรโตคอลได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

  3. ประชาชนในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ทั้งหมด ได้ประโยขน์จากการมีระบบรับแจ้งเหตุและสั่งการทีมปฏิบัติการแพทย์ฉุกเฉิน (ทีมEMS) ที่มีประสิทธิภาพ เข้าถึงผู้ป่วยได้รวดเร็วและแม่นยำ