ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Emergency care system โรงพยาบาลขอนแก่นถูกยกให้เป็นต้นแบบความสำเร็จในการสร้างระบบตอบสนองภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร

ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน Emergency care system โรงพยาบาลขอนแก่นถูกยกให้เป็นต้นแบบความสำเร็จในการสร้างระบบตอบสนองภาวะฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติเหตุจราจร

ในประเทศไทย อุบัติเหตุทางถนนทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากทั้งต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ เฉพาะในปี 2022 เพียงปีเดียว มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนถึง 17,000 คน และเป็นผู้พิการช่วยเหลือตนเองไม่ได้ จำนวนถึง 15,000 คน ส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจประมาณ 500,000 ล้านบาท (ประมาณ 12.5 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ)

จากปัญหาดังกล่าว เครือข่ายหลายสาขาวิชาชีพ รวมถึงรัฐบาล องค์กรไม่แสวงผลกำไร (NGOs) ภาคเอกชน และสื่อมวลชน ได้ร่วมมือกันเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากการบาดเจ็บทางถนน ตัวอย่างความสำเร็จ เช่น ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย มีการดำเนินงานที่เข้มแข็งมาก สามารถลดการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนที่สามารถป้องกันได้ลงถึงร้อยละ 2

ด้วยความร่วมมือระหว่างศูนย์ปฏิบัติการแห่งชาติของกระทรวงมหาดไทยสำหรับความปลอดภัยทางถนนร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขและมูลนิธิความปลอดภัยทางถนนหลายแห่ง โดยความร่วมมือครั้งนี้ ได้เสนอมาตรการและดำเนินกิจกรรมใน 3 รูปแบบหลัก ๆ เพื่อลดปัญหาการเสียชีวิตในประเทศ ดังนี้ 1.ต้องมีภาวะการนำและเครือข่าย 2.การบูรณาการข้อมูลและการสนับสนุนนโยบายอย่างจริงจัง และ 3.ความเข้มแข็งจริงจังในการตอบสนองภายหลังจากการชนในท้องถนนแล้ว ส่งผลสืบเนื่อง ทำให้มีกิจกรรมด้านความปลอดภัยทางถนนที่มีประสิทธิภาพหลายอย่าง เช่น การออกกฎหมาย การสนับสนุนนโยบาย และการเจรจาทางการเมือง ที่ดำเนินการทั่วประเทศและได้รับผลสำเร็จในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น

โรงพยาบาลขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลที่มีความเป็นเลิศในระบบการแพทย์ฉุกเฉินในประเทศไทย (Emergency Care System,ECS) โดยมีระบบการดูแลที่ครอบคลุม ตั้งแต่การดูแลนอกโรงพยาบาล (Pre-hospital) , การดูแลที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล, ระบบการส่งต่อ และการดูแลกรณีฉุกเฉินขนาดใหญ่ในคราวเดียวกัน

โรงพยาบาลขอนแก่นสามารถบูรณาการความร่วมมือ จัดระบบให้ผู้ให้บริการด้านสุขภาพตั้งแต่บุคลากรสาธารณสุขระดับชุมชน ตำบลหมู่บ้าน แพทย์โรงพยาบาลชุมชน จนถึงแพทย์ฉุกเฉิน ได้ให้บริการอย่างไร้รอยต่อ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน (ECS) ของโรงพยาบาลขอนแก่นด้วย

ปัจจัยในความสำเร็จที่ขอนแก่นครั้งนี้ เกิดจากการเริ่มต้นพัฒนาในพื้นที่ขนาดเล็ก และถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในระยะยาว และมีกลยุทธ์หลายด้านเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลขอนแก่น (ECS) และในขณะนี้โรงพยาบาลขอนแก่นมีระบบรถพยาบาลส่งต่อที่แข็งแกร่งและศูนย์ประสานและสั่งการระดับจังหวัดสำหรับเบอร์ฉุกเฉิน 1669 ทำให้เกิดการดูแลการแพทย์ฉุกเฉินแบบบูรณาการด้วยการกำกับผ่านแพทย์อำนวยการ EMS ทำให้สามารถส่งบุคลากรไปดูแลผู้ป่วย ณ สถานที่เกิดเหตุ, มีระบบการขนส่งผู้ป่วยทางอากาศ, มีการคัดกรองที่เหมาะสม และมีระบบการแพทย์ทางไกล Telemedicine ที่ให้คำปรึกษาและช่วยดูแลการสนับสนุนในระบบการแพทย์ฉุกเฉินทั้งก่อนถึงโรงพยาบาลและขณะส่งต่อ ซึ่งทำให้การลดการเสียชีวิตที่สามารถป้องกันได้อย่างมีนัยสำคัญเกินกว่าครึ่งหนึ่ง (จากร้อยละ 4 เหลือเพียงร้อยละ 1)

จุดมุ่งหมายเพิ่มเติมนอกเหนือจากการดูแลหลังจากอุบัติเหตุ นอกจากเพื่อลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจรแล้ว การบูรณาการข้อมูลก็ถือเป็นลำดับความสำคัญลำดับต้น ๆ ด้วยระบบการเฝ้าระวังอุบัติเหตุในประเทศไทยให้ความสำคัญต่อการควบคุมตรวจสอบและเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษาพยาบาลของผู้บาดเจ็บตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งนอกจากได้ช่วยในการป้องกันการบาดเจ็บแล้ว ยังมีการบูรณาการข้อมูลจากระบบเฝ้าระวังอุบัติเหตุโดยได้บูรณาการข้อมูลนี้กับข้อมูลจากระบบของตำรวจและบริษัทประกันการป้องกันภัยจากอุบัติเหตุทางถนน ช่วยให้เกิดข้อมูลที่แม่นยำเกี่ยวกับการเสียชีวิตและบาดเจ็บที่มีต้นกำเนิดจากอุบัติเหตุทางถนน ด้วยข้อมูลที่แม่นยำนี้ช่วยให้แพทย์ในขอนแก่นมีข้อมูลมีประสิทธิภาพและได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลักดันนโยบายและนักการเมือง

ความสำเร็จในครั้งนี้มาจากความพยายามอย่างต่อเนื่องและความทุ่มเทเสียสละของบุคคลและองค์กรที่มุ่งมั่นที่จะสืบสานความปลอดภัยในทางถนนในประเทศไทยในทศวรรษที่ผ่านมา

แปลโดย : นพ.รัฐระวี พัฒนรัตนโมฬี
Director of WHO CC KKH for injury prevention and safety promotion