มูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉิน

ความสำคัญของมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

         วิทยา ชาติบัญชาชัย
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

คงไม่มีใครปฏิเสธว่า ระบบการแพทย์ฉุกเฉินมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ในการรักษาชีวิตของประชาชนเมื่อได้รับบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเข้าถึงการรักษาพยาบาลในเวลาที่รวดเร็ว ทันการณ์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วย รอดชีวิต ไม่พิการ ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่เนื่องจากภาวะฉุกเฉิน เป็นสถานการณ์ที่บุคคล ครอบครัวไม่ได้ตระเตรียมตัวมาก่อน เมื่อเกิดสถานการณ์ขึ้น จึงมักจะมาโรงพยาบาลช้าเกินไป ยิ่งในผู้ด้อยโอกาส หรือเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ที่ไกลจากครอบครัว ยิ่งจะเข้าถึงการรักษาพยาบาลล่าช้ายิ่งขึ้นไปอีก

ระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ครอบคลุมทุกพื้นที่ ให้บริการได้ในเวลาอันรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ จึงเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่สังคมประเทศของเราทุกแห่งหนจะต้องจัดให้มีขึ้น

ปรัชญาการดำเนินงานเพื่อพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

Dr. Etienne Krug , Director ของ Department of Violence and Injury Prevention WHO Genevaได้กล่าวไว้ WHO Pre hospital Care Guideline ว่า

Selected bystanders, community volunteers and other citizens with minimal training working in concert with providers and formal medical care structures can provide effective and sustainable PHC. regardless of a national level of resources.

 ขยายความว่า

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน หากจะทำให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังยืนจะต้อง ผลักดันให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบ และเป็นเจ้าของ ร่วมกับ หน่วยงานสาธารณสุข การมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ หมายความว่า จะต้องกำหนดให้ภารกิจการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เบื้องต้น เป็นภารกิจที่องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องร่วมรับผิดชอบ โดยจะต้องกำหนดให้มีฝ่ายการแพทย์ฉุกเฉินในโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องกำหนดให้มีบุคคลที่ผ่านการศึกษาอบรม เป็นผู้ปฏิบัติการ ต้องสนับสนุนให้จัดหายานพาหนะมาเป็นรถพยาบาล และจัดหาอุปกรณ์สื่อสารตลอดจนเวชภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในเบื้องต้นรวมถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาในภาพรวม เช่น การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรู้จักหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน การพัฒนาศูนย์แจ้งเหตุของจังหวัด การเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์สาธารณภัย การมีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาในภาพรวม ในขณะที่หน่วยงานสาธารณสุข จะต้องเป็นหน่วยออกแบบระบบ วางแผนการดำเนินงานตามแบบที่กำหนดขึ้น อบรมบุคลากร ให้การบริการในระดับ advanced ประสานการดำเนินงานในภาพรวม และการกำกับติดตามประเมินผล

พันธกิจของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ที่ปรากฏในแผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินฉบับที่ ๒ คือ บริการการแพทย์ฉุกเฉินมีเป้าประสงค์สำคัญ คือ

  • จะต้องให้การบริการครอบคลุมทุกพื้นที่ในประเทศไทยโดยคนไทยสามารถเข้าถึงบริการได้โดยเท่าเทียม
  • จะต้องให้บริการด้วยประสิทธิภาพอันดี ทีมการแพทย์ฉุกเฉินสามารถเข้าถึงจุดเกิดเหตุในเวลารวดเร้ว
  • ให้บริการได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง
  • มีคุณภาพการบริการที่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
  • บุคลากรทุกคนต้องมีความปลอดภัยในการออกปฏิบัติการ

เป้าประสงค์ดังกล่าวทุกข้อ จะบรรลุได้ปัจจัยสำคัญคือจะต้องได้รับความร่วมมือในระดับสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกระดับ ทุกตำบล ทุกจังหวัด

กลไกที่จะสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ระดับจังหวัด

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดกลไกการสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในหลายเวที พอจะสรุปโดยหลักการ ได้ดังนี้

  1. จะต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถึงภารกิจการบริการการแพทย์ฉุกเฉินอย่างชัดเจน
  2. จะต้องถ่ายทอดสื่อสารบทบาทหน้าที่ดังกล่าวให้ผู้บริการองค์กรส่วนท้องถิ่นได้เข้าใจ และเกิดแรงบันดาลใจที่จะผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ เพื่อสร้างหลักประกันความปลอดภัยให้กับประชาชนในพ้นที่ที่รับผิดชอบ

จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ในลักษณะของกรรมการดำเนินงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัดโดยกรรมการดำเนินงานในระดับจังหวัด จะต้องมีการพบปะ ประชุม หารือ เพื่อผลักดันให้มีการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินให้ก้าวหน้า อย่าง ต่อเนื่อง ตามกรอบพันธกิจ ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินได้กำหนดขึ้น

  1. เพื่อที่จะเป็นหลักประกันความมั่นคงต่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัด จังหวัดจะต้องพยายามผลักดันให้เกิดกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแหล่งทุนในการพัฒนาระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากร การประชาสัมพันธ์ การจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น การพัฒนาระบบการสื่อสารสั่งการ การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการกำกับติดตาม แม้ว่างบประมาณ สำหรับการพัฒนาดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือจากงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา งบประมาณจากแหล่งดังกล่าว ไม่พอเพียงอยู่มากหากจังหวัดหรือท้องถิ่น สามารถจัดตั้งกองทุน โดยการระดมทุนจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ หรือได้รับประโยชน์จากการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ จึงเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ และเป็นการยกระดับ ความมีส่วนร่วม และการเป็นเจ้าของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของท้องถิ่นที่ สูงขึ้น
  2. รูปแบบการสนับสนุนด้านการเงิน อาจจะเป็นลักษณะที่ง่ายสุดคือการเปิดรับบริจาคในพื้นที่ หรือการจัดตั้งเป็นกองทุน หรือในระดับที่ยากขึ้น คือการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ แต่เป็นแนวทางที่มีความมั่นคง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งผู้สนับสนุน และผู้รับการสนับสนุน ได้นำรายได้ มาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

 คณะกรรมการมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

1.นพ.สมคิด เลิศสินอุดม                       ประธานมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

  1. นางนิตยาภรณ์ สีหาบัว รองประธานฯ
  2. น.ส.วรัชภรณ์ พลเขตร์ กรรมการ
  3. นายกิตติ ดอนน้อย กรรมการและเหรัญญิก
  4. นางสุธิดา จันทร์จรัส กรรมการและเลขานุการ
  5. นายจักรพล ทานให้ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน

  1. T = Training การพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น
  2. เพื่อที่จะเป็นหลักประกันความมั่นคงต่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัด จังหวัดจะต้องพยายามผลักดันให้เกิดกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแหล่งทุนในการพัฒนาระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากร การประชาสัมพันธ์ การจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น การพัฒนาระบบการสื่อสารสั่งการ การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการกำกับติดตาม แม้ว่างบประมาณ สำหรับการพัฒนาดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือจากงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา งบประมาณจากแหล่งดังกล่าว ไม่พอเพียงอยู่มากหากจังหวัดหรือท้องถิ่น สามารถจัดตั้งกองทุน โดยการระดมทุนจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ หรือได้รับประโยชน์จากการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ จึงเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ และเป็นการยกระดับ ความมีส่วนร่วม และการเป็นเจ้าของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของท้องถิ่นที่ สูงขึ้น
  3. รูปแบบการสนับสนุนด้านการเงิน อาจจะเป็นลักษณะที่ง่ายสุดคือการเปิดรับบริจาคในพื้นที่ หรือการจัดตั้งเป็นกองทุน หรือในระดับที่ยากขึ้น คือการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ แต่เป็นแนวทางที่มีความมั่นคง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งผู้สนับสนุน และผู้รับการสนับสนุน ได้นำรายได้ มาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่
  4. เพื่อที่จะเป็นหลักประกันความมั่นคงต่อการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับจังหวัด จังหวัดจะต้องพยายามผลักดันให้เกิดกองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแหล่งทุนในการพัฒนาระบบ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบุคลากร การประชาสัมพันธ์ การจัดหาอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็น การพัฒนาระบบการสื่อสารสั่งการ การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อการกำกับติดตาม แม้ว่างบประมาณ สำหรับการพัฒนาดังกล่าว ส่วนหนึ่งจะได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน หรือจากงบประมาณของกระทรวงสาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา งบประมาณจากแหล่งดังกล่าว ไม่พอเพียงอยู่มากหากจังหวัดหรือท้องถิ่น สามารถจัดตั้งกองทุน โดยการระดมทุนจากทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบ หรือได้รับประโยชน์จากการบริการการแพทย์ฉุกเฉินในพื้นที่ จึงเป็นยุทธวิธีที่สำคัญ และเป็นการยกระดับ ความมีส่วนร่วม และการเป็นเจ้าของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ของท้องถิ่นที่ สูงขึ้น
  5. รูปแบบการสนับสนุนด้านการเงิน อาจจะเป็นลักษณะที่ง่ายสุดคือการเปิดรับบริจาคในพื้นที่ หรือการจัดตั้งเป็นกองทุน หรือในระดับที่ยากขึ้น คือการจัดตั้งเป็นมูลนิธิ แต่เป็นแนวทางที่มีความมั่นคง โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งผู้สนับสนุน และผู้รับการสนับสนุน ได้นำรายได้ มาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่

คณะกรรมการมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

1.นพ.สมคิด เลิศสินอุดม                       ประธานมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

  1. นางนิตยาภรณ์ สีหาบัว รองประธานฯ
  2. น.ส.วรัชภรณ์ พลเขตร์ กรรมการ
  3. นายกิตติ ดอนน้อย กรรมการและเหรัญญิก
  4. นางสุธิดา จันทร์จรัส กรรมการและเลขานุการ
  5. นายจักรพล ทานให้ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี

กลยุทธ์ในการดำเนินงาน

  1. T = Training การพัฒนาบุคลากรและหน่วยงาน หรือบุคคล ที่เกี่ยวข้องระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น
  2. P = Planning การวางแผนในการจัดหาทุน วางแผนการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น
  3. E = Equipment การจัดอุปกรณ์สนับสนุนการปฏิบัติการของเครือข่ายกู้ชีพจังหวัดขอนแก่น ให้มีประสิทธิภาพวัตถุประสงค์มูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

    ๑. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ สาธารณสุขได้อย่างรวดเร็ว

    ๒. พัฒนาบุคลากรที่ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ๓. สนับสนุนการบูรณาการงานด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ให้มีหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น

    ๔. เพื่อดำเนินการ หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น เพื่อการกุศลและองค์การสาธารณประโยชน์เพื่อสาธารณประโยชน์

    ๕. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่อย่างใด

ความเป็นมามูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

ด้วยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีโครงการนำร่อง ตามมาตรา ๓๓ ของ พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการ ในรูปแบบกองทุน โดยเป็นโครงการนำร่อง ๑๓ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู ชลบุรี พิษณุโลก สุราษฎร์ น่าน ลำพูน สตูล อยุธยา สระบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี นครราชสีมา ขึ้นในปี ๒๕๕๓ โดยให้งบประมาณในการดำเนินงานจังหวัดละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้แต่ละจังหวัดแสวงหารูปแบบในการพัฒนาระบบงานการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับจังหวัดอื่น ๆ ภายหลังได้รับนโยบายจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่นมาดำเนินงาน โดยการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในจังหวัด โดยศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นเป็นแกนนำหลัก

ความเป็นมามูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น

ด้วยสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มีโครงการนำร่อง ตามมาตรา ๓๓ ของ พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๕๑ เพื่อแสวงหารูปแบบและแนวทางการบริหารจัดการ ในรูปแบบกองทุน โดยเป็นโครงการนำร่อง ๑๓ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น หนองบัวลำภู ชลบุรี พิษณุโลก สุราษฎร์ น่าน ลำพูน สตูล อยุธยา สระบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี นครราชสีมา ขึ้นในปี ๒๕๕๓ โดยให้งบประมาณในการดำเนินงานจังหวัดละ ๑๐๐,๐๐๐ บาท โดยให้แต่ละจังหวัดแสวงหารูปแบบในการพัฒนาระบบงานการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับจังหวัดอื่น ๆ ภายหลังได้รับนโยบายจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ จังหวัดขอนแก่นมาดำเนินงาน โดยการบูรณาการร่วมกับภาคีเครือข่ายภายในจังหวัด โดยศูนย์อุบัติเหตุและวิกฤตบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่นเป็นแกนนำหลัก

๑๒ มกราคม ๒๕๕๕ เปลี่ยนชื่อ“กองทุนการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น”
๒ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เปลี่ยนชื่อ“มูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น”

โดยมีนายแพทย์วิทยา ชาติบัญชาชัย เป็นผู้ก่อตั้ง

        

 

กิจกรรมมูลนิธิการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดขอนแก่น